ความเข้ากันได้ของสีต่อน้ำมันเกียร์อุตสาหกรรม (Paint compatibility of gear oils)

สีมีความจำเป็นในการปกป้ององค์ประกอบของเครื่องจักร จึงควรเลือกใช้ชุดเกียร์อุตสาหกรรมที่ใช้สีมีประสิทธิภาพที่เข้ากันได้กับน้ำมัน แทนที่จะเปลี่ยนไปใช้น้ำมันที่ประสิทธิภาพต่ำ

ทำไมเราใช้สีสำหรับชุดเกียร์อุตสาหกรรม?

Paint-compatibility-of-gear-oils

ผู้ผลิตชุดเกียร์จะทาสีเคลือบชุดเกียร์ทั้งภายในและภายนอก เพื่อป้องกันการกัดกร่อนระหว่างการกระบวนการจัดเก็บและการขนส่ง นอกจากนี้ เศษของอนุภาคทรายจากกระบวนการหล่อตัวเสื้อของเกียร์ยังถูกเคลือบกันด้วยสีทาภายใน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับฟันเฟืองหรือตลับลูกปืน

ประสิทธิภาพของสีประเภทต่างๆ

Performance of various paint types

สีที่ใช้สำหรับป้องกันการกัดกร่อนแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ สีองค์ประกอบเดี่ยว (Single-component paint) และสีสององค์ประกอบ (two-component paint) โดยสีองค์ประกอบเดี่ยว เช่น สีอัลคิดเรซิน (Alkyd resin paints) จะมีราคาถูกกว่าแต่ใช้งานได้เพียง 3 - 5 ปีเท่านั้น และเข้ากันไม่ได้กับน้ำมันหล่อลื่นชนิดโพลีไกลคอล (Polyglycol) ส่วนสีสององค์ประกอบ เช่น สีอีพ็อกซี่ (Epoxy paints) จะมีราคาแพงกว่า แต่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่ามาก และสามารถเข้ากันได้กับน้ำมันหล่อลื่นชนิดโพลีไกลคอล ดังที่ได้เห็นในการนำไปใช้งานกับกังหันลมซึ่งมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 20 ปี   นอกจากนี้ สีสององค์ประกอบยังมีความทนทานต่อน้ำและสารเคมีอีกด้วย

 

ความเสียหายที่เกิดจากความเข้ากันไม่ได้ของสีและน้ำมัน

ประสิทธิภาพของสีประเภทต่างๆ 

หากสีและน้ำมันเกียร์เข้ากันไม่ได้ หลังจากสัมผัสกับน้ำมันเกียร์สีจะเกิดการหลุดลอกจากพื้นผิวที่ยึดเกาะ ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันที่ระบบกรองและทำให้รอบการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันสั้นลง ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อาจทำให้ฟันเฟืองเสียหายได้เนื่องจากขาดการหล่อลื่นจากการอุดตันของระบบน้ำมันหมุนเวียน หรือการกีดขวางการเข้าถึงของน้ำมันที่จุดที่ต้องการการหล่อลื่น

ทำไมต้องเลือกสีสององค์ประกอบสำหรับชุดเกียร์อุตสาหกรรม

หากน้ำมันเกียร์เข้ากันไม่ได้กับสี น้ำมันที่เหมาะสมควรมีความสำคัญมากกว่าสี กล่าวคือ เป็นการดีกว่าที่จะเปลี่ยนสีภายในให้เป็นชนิดที่เข้ากันได้กับน้ำมัน แทนที่จะเปลี่ยนเป็นน้ำมันไปเป็นน้ำมันที่มีประสิทธิภาพต่ำ

เหตุผลก็คือน้ำมันเกียร์ประสิทธิภาพสูง เช่น โพลีไกลคอลหรือโพลีอัลฟาโอเลฟิน มีความจำเป็นสำหรับการปกป้ององค์ประกอบของเครื่องจักร เนื่องจากสามารถลดแรงเสียดทานและยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรให้ยาวนานยิ่งขี้น

โดยปกติสีชนิดสององค์ประกอบจะเป็นที่ต้องการสำหรับชุดเกียร์อุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถเข้ากันได้กับน้ำมันเกียร์ส่วนใหญ่ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ามาก

ผู้ผลิตชุดเกียร์ชั้นนำต่างๆ อาทิ SEW, FlENDER HANSEN, MOVENTAS, BOSTON หรือ BALDOR ล้วนแล้วแต่ใช้สีสององค์ประกอบสำหรับทาเคลือบผิวชุดเกียร์ของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชุดเกียร์ที่ถูกนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมซีเมนต์และกังหันลมผลิตไฟฟ้า

 

 

การทดสอบความเข้ากันได้ของสีตามมาตรฐาน DIN EN ISO 2409 – การทดสอบการยึดเกาะของสี

cross-cut-test

ผลการทดสอบสำหรับสีองค์ประกอบเดี่ยว: เกือบ 100% ของสีเกิดการหลุดลอก, ระดับ: 5 สีเข้ากันไม่ได้กับน้ำมันเกียร์ที่ใช้ทดสอบซึ่งเป็นชนิดโพลิไกลคอล

การทดสอบความเข้ากันได้ของสีตามมาตรฐาน DIN EN ISO 2409 – การทดสอบการยึดเกาะของสี

cross-cut-test

ผลการทดสอบสำหรับสีสององค์ประกอบ: การหลุดลอกของเนื้อสีน้อยกว่า 5%, ระดับ: 1 สีเข้ากันได้กับน้ำมันเกียร์ที่ใช้ทดสอบซึ่งเป็นชนิดโพลิไกลคอล

น้ำมันเกียร์อุตสาหกรรมของคลูเบอร์ ลูบริเคชั่น ชนิดใดที่สามารถเข้ากันได้กับสีสององค์ประกอบ

น้ำมันเกียร์อุตสาหกรรมของคลูเบอร์ฯ ต่อไปนี้ ผ่านการทดสอบสีที่กล่าวถึงข้างต้น และสามารถใช้ได้กับสีสององค์ประกอบ:

  1. Klüberoil GEM 1 N series
  2. Klübersynth GEM 2 series
  3. Klübersynth GEM 4 N series
  4. Klübersynth GH 6 series
  5. Klübersynth UH1 6 series
  6. Klüberoil 4 UH1 N series

*ข้อมูลเพิ่มเติมน้ำมันเกียร์อุคสาหกรรมของคลูเบอร์ ลูบริเคชั่น: 

https://www.klueber.com/th/th/products-service/lubricants/lubricating-oils/

ติดต่อเรา

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการเอกสาร Download กรุณาติดต่อคลูเบอร์ ลูบริเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ หรือ Add Friend มายัง LINE OA @klueberthailand

คลูเบอร์ ลูบริเคชั่น Your global specialist เรายินดีให้บริการคุณ

ขอขอบพระคุณค่ะ

  • TH ติดต่อ

    บริษัท คลูเบอร์ ลูบริเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

    เลขที่ 5 อาคารดร.เกฮาร์ด ลิงค์ ชั้นที่ 12
    ซอยกรุงเทพกรีฑา 4 (บีกริม)
    ถนนกรุงเทพกรีฑา หัวหมาก
    บางกะปิ กรุงเทพ 10240
    ประเทศไทย

    email : marketing@th.klueber.com
    Phone : +66 (0) 2792 2822

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการข้อมูลของคุณในแบบฟอร์มติดต่อ โปรดอ่านเพิ่มเติมในเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัว