การทดสอบลักษณะการเกิดฟองของน้ำมันเกียร์

ในการหล่อลื่นชุดเกียร์และระบบน้ำมันหมุนเวียน อาจเกิดสภาวะฟองอากาศสะสมเกิดขึ้นในน้ำมันเกียร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ และส่งผลให้ประสิทธิภาพการหล่อลื่นลดลง

การเกิดฟองอากาศที่ผิวและภายในเนื้อน้ำมันเกียร์

การเกิดฟองอากาศที่ผิวและภายในเนื้อน้ำมันเกียร์

การเกิดฟองอากาศในน้ำมันแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. การเกิดฟองอากาศสะสมที่ผิวน้ำมัน (Surface foam)
  2. การเกิดฟองอากาศกระจายตัวอยู่ในเนื้อน้ำมัน (Oil/air mixture)

ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะ บ่อยครั้งมักเกิดการเข้าใจสับสน และยากต่อการแยกแยะ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบและกำหนดลักษณะของปัญหาว่าเป็นการเกิดฟองอากาศในรูปแบบใด หรือทั้งสองแบบ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของปัญหาและแก้ปัญหาได้ตรงจุด หรือในบางกรณี สามารถนำน้ำมันตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์การเกิดฟองอากาศ (Foam characteristic test) เพื่อทราบถึงสภาพของน้ำมันที่ใช้งานอยู่ ก่อนทำการเปลี่ยนเป็นน้ำมันเกรดพิเศษที่ผสมสารป้องกันการเกิดฟอง (Antifoam additive) หรือเลือกใช้การเติมสารป้องกันการเกิดฟองเข้าไปในน้ำมันเดิม

สารป้องกันการเกิดฟอง สามารถช่วยลดปริมาณการเกิดฟองอากาศสะสมที่ผิวน้ำมันได้ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการป้องกันไม่ให้เกิดฟองอากาศ แต่จะช่วยทำให้ฟองอากาศที่เกิดขึ้นรวมตัวกันและแตกตัวได้ง่ายขึ้นจนสลายตัวไปในที่สุด ลักษณะการเกิดฟองและการเคลื่อนตัวของฟองอากาศในน้ำมันนั้นพิจารณาจากความหนืดของน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ โดยปกติฟองอากาศที่เกิดขึ้นในน้ำมันเกียร์ที่มีความหนืดต่ำ จะสลายตัวได้เร็วกว่าฟองอากาศที่เกิดขึ้นในน้ำมันเกียร์ที่มีความหนืดสูงกว่า

นอกจากนี้อุณหภูมิแวดล้อมอาจส่งผลอย่างมากต่อการเกิดฟองอากาศในน้ำมัน เช่น บางประเทศ ในฤดูหนาว ความหนืดของน้ำมันจะสูงกว่าในฤดูร้อนมาก น้ำมันเกียร์ที่มีค่าความหนืด 680 mm²/s ที่ 40°C เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิการทำงาน 20°C ความหนืดของน้ำมันจะเพิ่มขึ้นได้ถึง 3500 mm²/s โดยประมาณ

ติดต่อเรา

เราหวังว่าจะได้รับข้อความจากคุณ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการข้อมูลของคุณในแบบฟอร์มติดต่อ โปรดอ่านเพิ่มเติมในเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัว