ชุดทดสอบ FZG (FZG Test rig) ใช้เพื่อกำหนดขีดความสามารถของน้ำมันเกียร์ในการช่วยป้องกันการขูดขีดบนหน้าสัมผัสของฟันเฟือง ณ จุดหล่อลื่น

FZG (Forschungsstelle für Zahnräder und Getriebebau) คือ ตัวย่อในภาษาเยอรมันของชื่อ ศูนย์วิจัยเกียร์ (1) ของมหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้พัฒนาชุดแท่นทดสอบนี้ขึ้นมา ซึ่งมีกระบวนการทดสอบโหลดแบบขูดขีด (Scuffing load test) ในหลายรูปแบบ ชุดทดสอบ FZG (FZG Test rig) ใช้เพื่อกำหนดขีดความสามารถของน้ำมันเกียร์ในการช่วยป้องกันการขูดขีดบนหน้าสัมผัสของฟันเฟือง ณ จุดหล่อลื่น การขูดขีดจะเกิดขึ้นที่หน้าสัมผัสของคู่ฟันเฟืองที่เคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งที่ขบกัน และพลังงานที่เกิดขึ้นจากการขูดขีดส่งผลให้อุณหภูมิที่ผิวหน้าฟันเฟืองเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันเรียกว่า อุณหภูมิแฟลช (Flash temperature) ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ โหลด (Load) ความเร็วที่ขอบฟันเฟือง (Peripheral speed) และอุณหภูมิน้ำมันทดสอบ (Oil sump temperature) โดยที่จุดดังกล่าวในระดับอนุภาคส่วนที่เป็นยอดสูงของความหยาบผิวของหน้าสัมผัสคู่ฟันเฟืองภายใต้แรงกระทำต่อพื้นที่ขนาดเล็ก เกิดการเชื่อมติดกันชั่วขณะและถูกฉีกออกอย่างรวดเร็วจากการหมุนต่อเนื่องของฟันเฟือง ทำให้เกิดการสูญเสียเนื้อวัสดุที่พื้นผิวหน้าสัมผัสของฟันเฟือง ความสามารถในการรับโหลดแบบขูดขีดของน้ำมันเกียร์ ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันพื้นฐานและสารเติมแต่งที่ใช้เป็นหลัก และความหนาของชั้นฟิล์มน้ำมัน ณ จุดหล่อลื่น

ศูนย์วิจัยเกียร์ (1) Gear Research Centre Remark: https://www.mw.tum.de/fzg/fzg/geschichte/

Drawing of an FZG four square gear oil tester

Drawing of an FZG four square gear oil tester
  1. Test pinion
  2. Test wheel
  3. Drive gear case
  4. Rotating coupling
  5. Locking pin
  6. Load lever with weights
  7. Torque gauge
  8. Temperature sensor

FZG four square gear oil tester

FZG four square gear oil

สำหรับคู่ฟันเฟืองทดสอบแบบ A ที่มีการออกแบบมาพิเศษโดยการปรับระยะเส้นผ่านศูนย์กลางระยะพิทช์ของฟันเฟืองให้ขยับไปจากตำแหน่งปกติ (Profile offset) ทำให้ลักษณะหน้าฟันเฟืองแตกต่างไปจากฟันเฟืองตามมาตรฐานทั่วไป ซึ่งจะทำให้ความเร็วที่ผิวสัมผัสหน้าฟันเฟืองสูงขึ้นกว่าปกติ จึงทำให้มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่แบบไถล (Sliding movement) บนหน้าสัมผัสของฟันเฟืองสูงว่าปกติเช่นกัน และทำให้เกิดการสึกหรอแบบขูดขีดได้ง่ายยึ่งขึ้น เหมาะแก่การในมาใช้สำหรับการทดสอบโหลดแบบขูดขีด

ในการทดสอบโหลดแบบขูดขีดด้วยชุดทดสอบ FZG แบบมาตรฐาน ฟันเฟืองทดสอบจะถูกป้อนโหลดหรือแรงบิดแล้วจึงทำการเดินเครื่องทดสอบเพื่อให้ฟันเฟืองได้ขบกันตามจำนวนรอบที่กำหนด จากนั้นทำการหยุดและทำการป้อนโหลดเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบการทดสอบตามลำดับขั้นบันได โดยในแต่ละระดับที่เพิ่มขึ้นจะทำการตรวจสอบการสึกหรอแบบขูดขีดที่หน้าสัมผัสของฟันเฟืองทดสอบ หากเกิดการสึกหรอมากเกินเกณฑ์กำหนด การทดสอบจะสิ้นสุดลงและถูกบันทึกเป็นระดับการรับภาระโหลดแบบขูดขีดสูงสุดของสารหล่อลื่นทดสอบที่สามารถทำได้

อย่างไรก็ตาม มีการออกแบบกระบวนการทดสอบโหลดแบบขูดขีดด้วยชุดทดสอบ FZG นี้ไว้อย่างหลากหลายรูปแบบ โดยแต่ละการทดสอบจะมีค่าของตัวแปรหลักในการทดสอบ ได้แก่ ความเร็วที่ขอบฟันเฟือง อุณหภูมิน้ำมันทดสอบ และประเภทของคู่ฟันเฟืองที่แตกต่างกันซึ่งส่งผลต่อลักษณะการเคลื่อนที่บนผิวหน้าสัมผัสของคู่ฟันเฟือง (Gear pair and sense of rotational) ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในการทดสอบที่หลากหลายและมีระดับของโหลดแบบขูดขีดที่แตกต่างกัน ได้ถูกกำหนดไว้เพื่อใช้ในการทดสอบน้ำมันหล่อลื่นชนิดต่างๆ การจัดอันดับของแต่ละการทดสอบคำนึงถึงอุณหภูมิแฟลชที่เกิดขึ้น(ในทางทฤษฎี) ทำให้เงื่อนไขของการทดสอบที่แตกต่างกันสามารถนำมาเปรียบเทียบได้

สำหรับการจำแนกความสามารถในการรับโหลดแบบขูดขีดประเภทอื่นๆ ที่เป็นไปตามข้อกำหนดของ API GL4 และ GL5 ในการทดสอบชุดทดสอบ FZG ก็ใช้หลักเปรียบเทียบโดยคำนึงถึงอุณหภูมิแฟลชที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน

หมายเหตุ: ตารางรายการใช้สำหรับเปรียบเทียบการทดสอบภาระโหลดแบบขูดขีดโดยอุณหภูมิแฟลชที่ต่างกันเท่านั้น มิได้เป็นตัวชี้วัดว่าสารหล่อลื่นนั้นๆเหมาะสำหรับการใช้งานโดยเฉพาะเจาะจงใดๆหรือไม่

ตารางรายการเปรียบเทียบการทดสอบโหลดแบบขูดขีดของชุดทดสอบ FZG ในแบบรูปแบบต่างๆ: การทดสอบโหลดแบบขูดขีดในรูปแบบต่างๆ สามารถจำแนกได้ตามอุณหภูมิแฟลชที่เกิดขึ้น ซึ่งจะแสดงรายการดังต่อไปนี้

various scuffing load tests

                        sls = scuffing load step                                          ls = load step

ตารางรายการดังกล่าว คือ เกณฑ์การทดสอบที่ใช้สำหรับชี้วัดสารหล่อลื่นที่ผ่านเกณฑ์ในแต่ละระดับโดยเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง

เกณฑ์ดังกล่าวใช้สำหรับอ้างอิงถึงน้ำมันเกียร์เท่านั้น ในกรณีการทดสอบจาระบีที่ใช้งานกับเกียร์ แม้ว่าความเร็วที่ขอบฟันเฟือง หรือ อุณหภูมิน้ำมันทดสอบ จะน้อยกว่าก็ไม่ถูกนำมาพิจารณา

คำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับของการทดสอบโหลดแบบขูดขีดและการทดสอบเฉพาะทางใดๆ

การระบุคือค่าอุณหภูมิแฟลช (อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นที่ผิวหน้าสัมผัสของฟันเฟืองนอกเหนือจากอุณหภูมิภายในตัวของฟันเฟืองเอง1) หาได้จากจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิปริพันธ์ (Integral temperature) ซึ่งอยู่ในกระบวนการตามมาตรฐาน DIN 3990

อ้างอิง

1 B.-R. Höhn, P. Oster, K. Michaelis: New test methods for the evaluation of wear,

scuffing and pitting capacity of gear lubricants. AGMA Technical Paper 98FTM8 (1998)

การทดสอบโหลดแบบขูดขีดแบบมาตรฐาน  ตามมารตฐาน DIN 51354  FZG (A/8.3/90)

ทดสอบด้วยคู่ฟันเฟืองทดสอบแบบ A ความเร็วที่ขอบฟันเฟือง 8.3 m/s อุณหภูมิน้ำมันทดสอบ 90°C ระยะห่างแกนเพลา 91.5 mm. ในช่วงเริ่มต้นฟันเฟืองทดสอบจะถูกป้อนโหลดหรือแรงบิดในระดับต่ำ จากนั้นค่อยๆเพิ่มโหลดขึ้นทีละระดับ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิแฟลชเกิดขึ้นที่หน้าฟันเฟือง โดยในการทดสอบนี้จะใช้การเดินโหลดในระดับต่ำในช่วงแรกเป็นการช่วยปรับความหยาบผิวที่หน้าฟันเฟือง หรือเรียกว่าการรันอิน (running-in)

การทดสอบโหลดแบบขูดขีดแบบเพิ่มขีดจำกัด    FZG (A/16.6/90)

ขั้นตอนเหมือนการทดสอบแบบมาตรฐาน แต่ความเร็วที่ขอบฟันเฟือง เป็น 16.6 m/s ในตลอดการทดสอบอุณหภูมิแฟลชจะสูงกว่าเมื่อเทียบกับการทดสอบแบบมาตรฐาน มีการเดินโหลดในระดับต่ำในช่วงแรกเป็นการรันอินเช่นเดียวกัน

การทดสอบโหลดแบบขูดขีดแบบหนักหน่วง        FZG (A10/16.6R/90)

มอเตอร์ขับหมุนกลับทิศทางทำให้ทิศทางการเคลื่อนที่บนผิวหน้าสัมผัสของฟันเฟืองทดสอบตรงกันข้าม (เฟืองทดสอบเป็นเฟืองตาม) คู่ฟันเฟืองที่ใช้ทดสอบเป็นแบบ A10 (เฟืองหน้าแคบ) ส่งผลให้เกิดความเค้นที่หน้าสัมผัสมากขึ้นเนื่องจากพื้นที่รับโหลดลดลง เพื่อเพิ่มความลำบากแก่สารหล่อลื่นในการลดแรงเสียดทาน ณ จุดหล่อลื่น

การทดสอบโหลดแบบกระแทก       FZG (S-A10/16.6R/90)

ในการทดสอบโหลดจะถูกป้อนให้กับหน้าฟันเฟืองทดสอบตั้งแต่เริ่มแรกในระดับที่หนักหน่วง (โดยจะไม่มีการปรับเพิ่มโหลดอีก) ทันทีที่เดินเครื่องทดสอบ ดังนั้นผลที่ได้จากการทดสอบจะมีเพียงผ่านหรือไม่ผ่านเท่านั้น และเนื่องจากไม่มีการเดินโหลดต่ำ ผิวหน้าสัมผัสจึงไม่ผ่านการรันอิน ทำให้อุณหภูมิแฟลชยิ่งมีค่าสูงมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรทราบคือโดยทั่วไปน้ำมันหล่อลื่นจะถูกใช้งานโดยที่เครื่องจักรมีการผ่านช่วงรันอิน (Run-in) มาแล้ว โดยเฉพาะน้ำมันที่ใช้งานในชุดเกียร์ ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้ความสามารถในการรับโหลดแบบขูดขีดกับคู่ฟันเฟืองเพิ่มขึ้นเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงสภาวะที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการทดสอบโหลดแบบขูดขีดที่มีลักษณะเฉพาะนั้นๆด้วย

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการทดสอบของน้ำมันเกียร์มากยิ่งขึ้น

ติดต่อเรา

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการเอกสาร Download กรุณาติดต่อคลูเบอร์ ลูบริเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ หรือ Add Friend มายัง LINE OA @klueberthailand

คลูเบอร์ ลูบริเคชั่น Your global specialist เรายินดีให้บริการคุณ

ขอขอบพระคุณค่ะ

  • TH ติดต่อ

    บริษัท คลูเบอร์ ลูบริเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

    เลขที่ 5 อาคารดร.เกฮาร์ด ลิงค์ ชั้นที่ 12
    ซอยกรุงเทพกรีฑา 4 (บีกริม)
    ถนนกรุงเทพกรีฑา หัวหมาก
    บางกะปิ กรุงเทพ 10240
    ประเทศไทย

    email : marketing@th.klueber.com
    Phone : +66 (0) 2792 2822

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการข้อมูลของคุณในแบบฟอร์มติดต่อ โปรดอ่านเพิ่มเติมในเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัว