วิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดในการพิจารณาว่าควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหรือไม่ คือการนำตัวอย่างน้ำมันไปทดสอบอย่างเป็นประจำ โดยมุ่งเป้าไปที่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพของน้ำมันตามลักษณะการใช้งาน

การวิเคราะห์น้ำมันใช้แล้วและการทดสอบสภาพน้ำมัน

Oil analysis

คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำมันหล่อลื่นอาจเปลี่ยนแปลงได้ด้วยสาเหตุหลายประการ ทำให้ยากต่อการกำหนดช่วงเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันที่ตายตัว ไม่ว่าจะเป็นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส หรือการปนเปื้อน สามารถส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าความเป็นกรดในน้ำมัน โดยระดับของค่าที่ยอมรับได้ขึ้นอยู่กับประเภทของการนำไปใช้งานในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใดๆ

วิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดในการพิจารณาว่าควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหรือไม่ คือการนำตัวอย่างน้ำมันไปทดสอบอย่างเป็นประจำ โดยมุ่งเป้าไปที่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพของน้ำมันตามลักษณะการใช้งาน อย่างไรก็ตามในบางกรณีค่าใช้จ่ายในการทดสอบน้ำมันเป็นประจำ อาจมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับมูลค่าของน้ำมัน ณ จุดใช้งานที่มีปริมาณน้ำมันไม่มากนัก

หากการทดสอบเป็นประจำมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป การตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหรือไม่ สามารถทำได้โดยอ้างอิงจากผลการทดสอบน้ำมันเพียงครั้งเดียว

หากการตัดสินใจที่ต้องอ้างอิงจากผลการทดสอบน้ำมันเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งสำคัญในการประเมินสภาพของน้ำมันโดยคำนึงถึงองค์ประกอบโดยรวมนั้นมีความสำคัญมากกว่าการเจาะจงเฉพาะในบางพารามิเตอร์มาพิจารณา และหากผลการทดสอบเป็นลบ แนะนำให้ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุความเป็นไปได้ของปัญหาและผลกระทบในด้านลบที่จะเกิดขึ้น

ลักษณะที่ปรากฎและกลิ่นของน้ำมันเป็นเกณฑ์สองข้อแรกที่ควรนำมาพิจารณา ไม่เพียงแต่บ่งบอกถึงสภาพน้ำมันเท่านั้น แต่ยังสามารถบอกเป็นนัยยะถึงประเภทของการทดสอบที่สมควรจะดำเนินการอีกด้วย ลักษณะที่ปรากฎ กลิ่น ความหนืด ความเป็นกรด ปริมาณน้ำในน้ำมัน และระดับของการปนเปื้อน เป็นเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาสภาพของน้ำมัน ในหลายกรณี ไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบทุกประเภท ประเภทของการทดสอบขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำมันและลักษณะโดยรวม

โดยเอกสารชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำการเลือกประเภทการทดสอบน้ำมันและการตีความผลของการทดสอบอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม การกำหนดระยะเวลาของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันถือเป็นแนวทางปฏิบัติในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันยังจำเป็นต้องอาศัยไหวพริบและประสบการณ์เป็นหลัก

การเก็บตัวอย่างน้ำมัน

oil taking

เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเก็บน้ำมันตัวอย่างเพื่อใช้ในการตรวจวิเคราะห์ น้ำมันที่ได้ต้องเป็นตัวแทนของระบบ ดังนั้นการเลือกตำแหน่งของการเก็บตัวอย่างน้ำมันที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากต้องทำการทดสอบเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือวิธีการและตำแหน่งของการเก็บต้องถูกต้องและเหมือนกันทุกประการ

โดยทั่วไป เราแนะนำให้เก็บตัวอย่างน้ำมันที่อุณหภูมิขณะทำงานหรือหลังจากที่หยุดเครื่องจักรในทันที ในกรณีที่เครื่องจักรเป็นระบบหล่อลื่นแบบหมุนเวียน น้ำมันตัวอย่างควรถูกเก็บ ณ ตำแหน่งขาออกจากปั๊ม เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันตัวอย่างที่ถูกเก็บนั้น เป็นตัวแทนของระบบ ที่ถูกเก็บจากจุดเก็บน้ำมันที่ซึ่งผ่านจุดใช้งานมาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการเก็บตัวอย่างจากบริเวณที่มีการไหลเวียนต่ำหรือเก็บจากเครื่องจักรที่หยุดการทำงานเป็นเวลานาน

ในการเก็บน้ำมันตัวอย่างจากอ่างน้ำมัน หากต้องใช้อุปกรณ์เสริม เช่น ปั๊ม กระบอกสูบ หรือท่อดูดน้ำมัน อุปกรณ์ที่นำมาใช้ต้องแห้งและสะอาด

ห้ามเก็บตัวอย่างจากก้นอ่างน้ำมัน เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่น้ำมันไม่มีการเคลื่อนไหว จึงไม่ใช่น้ำมันที่เป็นตัวแทนของระบบ

เก็บตัวอย่างน้ำมันในภาชนะที่แห้ง สะอาด และทำการติดฉลากโดยระบุข้อมูลที่จำเป็นในแบบฟอร์มการวิเคราะห์ แนะนำให้ใช้เทปใสปิดซ้ำที่ฉลาดเพื่อหลีกเลี่ยงการเปื้อนของน้ำมันบนฉลาก ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนได้

การตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพ

Oil analysis

1. ลักษณะที่ปรากฎในเนื้อน้ำมัน

หากน้ำมันมีสีอ่อนและใส และไม่แสดงถึงนัยยะของการเปลี่ยนสีไปจากเดิม มีความเป็นไปได้ว่ายังอยู่ในสภาพที่ดีและเหมาะสำหรับการใช้งานต่อไป อีกทั้งการทดสอบค่าความหนืดยังเป็นการยืนยันได้ว่าน้ำมันไม่ได้ถูกเติมด้วยค่าเกรดความหนืด ISO VG ที่ไม่ถูกต้อง

หากน้ำมันมีลักษณะขุ่นมัว เป็นการชี้ให้เห็นว่ามีการปนเปื้อนกับน้ำหรือการตกตะกอน หากน้ำมันมีสีเข้มหรือมีลักษณะหนืดมากขึ้น น้ำมันนั้นอาจถูกทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จึงสมควรตรวจสอบความหนืดและความเป็นกรดเพิ่มเติม

ในกรณีที่มีอนุภาคของแข็งในน้ำมัน นี่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือการสึกหรอที่เพิ่มขึ้น ดูข้อมูลนี้เพิ่มเติมในหัวข้อของ "เศษโลหะจากการสึกหรอ และที่มาของการปนเปื้อน"

Used oil

2. กลิ่นของน้ำมัน

กลิ่นของน้ำมันใช้แล้วจะแปรเปลี่ยนไปตามสารเติมแต่งที่ใช้ โดยมีปัจจัยหลักอยู่สองประการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างชัดเจน

การเกิดออกซิเดชั่นในน้ำมัน มีความชัดเจนที่ทำให้เกิดกลิ่นรุนแรงอันเกิดจากความเป็นกรดในน้ำมัน

การถูกความร้อนสูงกระทำจนเกินจุดเดือดในน้ำมัน จะทำให้เกิดกลิ่นไหม้และเกิดคาร์บอนก่อตัวในเนื้อน้ำมัน จนทำให้สีของน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเป็นสีอมเขียว ซึ่งการตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาสามารถทำได้โดยการทดสอบความหนืดและความเป็นกรด

Used oil 2

3. ความหนืดของน้ำมัน

แม้ว่าระดับความหนืดที่เพิ่มขึ้นอาจบ่งบอกถึงการเริ่มต้นของการเกิดออกซิเดชั่นในน้ำมัน แต่ความผิดพลาดจากการเติมน้ำมัน (Filling) ในขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน หรือการเติมน้ำมันเพิ่ม (Refilling) เพื่อทดแทนการพร่องของน้ำมันอันเกิดจากการใช้งาน ก็อาจส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความหนืดของน้ำมันได้เช่นกัน ความเข้มของสีน้ำมันและความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นอาจบ่งชี้ถึงอนุภาคของสนิมในน้ำมัน แต่หากผลการทดสอบชี้ให้เห็นว่า สีและความเป็นกรดของน้ำมันยังคงอยู่ในช่วงปกติ การเติมน้ำมันที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงความหนืดของน้ำมัน

หน่วยวัดค่าความหนืดตามมาตรฐานสำหรับน้ำมันอุตสาหกรรมคือ mm²/s ที่ 40°C น้ำมันที่มีความหนืดเพิ่มขึ้นถึง 10% เมื่อเทียบกับความหนืดของน้ำมันใหม่เป็นสัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่าอายุการใช้งานของน้ำมันกำลังหมดลง ในกรณีความหนืดเพิ่มขึ้นถึง 20% น้ำมันจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนถ่ายอย่างแน่นอน

แต่หากการเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดเป็นผลมาจากการการเติมน้ำมันในขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันที่ไม่ถูกต้อง การชดเชยโดยการเติมน้ำมันเพิ่มเพื่อทดแทนการพร่องของน้ำมันอันเกิดจากการใช้งาน ด้วยเกรดความหนืดที่ถูกต้องตามมาตรฐาน จะช่วยให้ความหนืดของน้ำมันค่อยๆกลับคืนสู่สภาพปกติได้

4. ความเป็นกรดของน้ำมัน

ความเป็นกรดของน้ำมันที่เพิ่มขึ้นโดยปกติมีสาเหตุมาจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันหรือปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส โดยใช้การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (NN, TAN) เป็นตัวกำหนดระดับของการเปลี่ยนแปลง มีหน่วยเป็นปริมาณมิลลิกรัมของสารละลายโพแทสเซียมออกไซด์ต่อกรัม (mg KOH/g) ส่วนใหญ่การเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะทำให้น้ำมันมีสีเข้มและมีความหนืดเพิ่มขึ้น ในขณะที่การเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสสามารถทำให้เกิดการตกตะกอนอย่างรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การอุดตันที่ตำแหน่งไส้กรองได้

4.1 ความเป็นกรดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน - "การเพิ่มขึ้นของค่าความเป็นกรดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน"

กราฟแสดงรูปแบบโดยทั่วไปของการเพิ่มขึ้นของค่าความเป็นกรดที่เกิดจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น

ดังที่แสดงในกราฟ ค่าความเป็นกรดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อปฏิกิริยาออกซิเดชันเริ่มเกิดขึ้นในน้ำมัน การกำหนดค่าตัวเลขของการวัดค่าความเป็นกรดในน้ำมันเพื่อเป็นเกณฑ์สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันนั้น จะแตกต่างกันไปและขึ้นอยู่กับสารเติมแต่งที่ถูกนำมาใช้ในน้ำมัน

 

 

4.2 ความเป็นกรดที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส

ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสสามารถส่งผลกระทบต่อสารหล่อลื่นในหลายรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสารเติมแต่งป้องกันการสึกหรอ (AW) หรือส่วนประกอบของน้ำมันหล่อลื่นชนิดเอสเทอร์ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการเกิดไฮโดรไลซิสสามารถตรวจพบได้โดยการวัดค่าความเป็นกรดในน้ำมัน

สำหรับผลิตภัณฑ์ของทางคลูเบอร์ มีสูตรและส่วนผสมที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของสารเติมแต่งที่มีความเสถียรต่อปฏิกิริยาไฮโดรไลติก อย่างไรก็ตามในกรณีที่รุนแรงมาก การเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสสามารถเกิดขึ้นได้ในระบบที่มีการปนเปื้อนด้วยน้ำ

การไฮโดรไลซิสของส่วนประกอบน้ำมันหล่อลื่นชนิดเอสเทอร์จะทำให้ระดับค่าความเป็นกรดค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างคงที เมื่อเทียบกับกราฟของการเพิ่มขึ้นของค่าความเป็นกรดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันก่อนหน้านี้

การกำหนดช่วงเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นแบบตายตัว จะกลายเป็นเรื่องยากทันทีหากปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดขึ้นกับน้ำมันที่กำลังใช้งานอยู่ในระบบ

จากกราฟการเพิ่มขึ้นของค่าความเป็นกรดที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของความเป็นกรดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

 

oil

5. ปริมาณน้ำในน้ำมัน

หากน้ำมันแร่หรือน้ำมันสังเคราะห์ชนิดโพลีอัลฟาโอเลฟิน (PAO) ยังคงความใสและเป็นสีเหลืองอ่อนๆ แสดงว่ามีปริมาณน้ำปนเปื้อนเพียงเล็กน้อย ปริมาณน้ำที่เข้ามาในระบบมักจะถูกแยกตัวออกจากน้ำมันโดยอยู่ชั้นล่าง(ตามความหนาแน่น) สามารถเดรนน้ำ (Drain) ออกได้หากจำเป็น

หากน้ำมันดังกล่าวมีความขุ่นเล็กน้อย โดยปกติจะชี้ให้เห็นว่ามีปริมาณน้ำอยู่ระหว่าง 0.05 ถึง 0.2%

หากน้ำมันเป็นสีขาวขุ่นหรือสีนม นั่นหมายถึงน้ำมันหล่อลื่นสูญเสียความสามารถในการแยกน้ำออกจากตัวโดยสมบูรณ์ และปริมาณน้ำในน้ำมันเกินกว่าค่ายอมรับได้

ควรตรวจสอบน้ำมันตัวอย่างเบื้องต้นถึงปริมาณน้ำในน้ำมันตามลักษณะที่ปรากฎว่ามีความขุ่นเล็กน้อยหรือขาวขุ่นหรือไม่ การปนกันของน้ำมันหล่อลื่นตัวอื่นๆหรือสิ่งปนเปื้อนจากภายนอก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดลักษณะดังกล่าวได้เช่นกัน

Tan Kit

6. องค์ประกอบของสารเติมแต่ง เศษโลหะจากการสึกหรอ และที่มาของการปนเปื้อน

ในกระบวนการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำมันใช้แล้ว องค์ประกอบต่างๆที่ถูกตรวจพบสามารถจำแนกถึงที่มาได้อย่างหลากหลาย องค์ประกอบบางอย่างมาจากสารเติมแต่งที่ตั้งใจใส่ลงไปในน้ำมันหล่อลื่น หรือองค์ประกอบบางอย่างเกิดจากการปนเปื้อนจากภายนอก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบถึงปริมาณขององค์ประกอบต่างๆในน้ำมันแต่ละประเภทเพื่อใช้ในการวิเคราะห์

ในตารางถัดไป จะแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบโดยทั่วไป ที่พบอยู่ในน้ำมันหล่อลื่นของทางคลูเบอร์ ฯ หรือน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้ออื่นๆก็ตาม ซึ่งมีทั้งสารเติมแต่งหรือสิ่งปนเปื้อนในน้ำมันหล่อลื่น

สารเติมแต่งและองค์ประกอบ

สารเติมแต่ง องค์ประกอบ
สังกะสี (Zinc) ป้องกันการสึกหรอ / ป้องกันการสึกหรอแบบขูดขีด
ฟอสฟอรัส (Phosphorous) ป้องกันการสึกหรอ / ป้องกันการสึกหรอแบบขูดขีด
กำมะถัน (Sulphur) ป้องกันการสึกหรอ / ป้องกันการสึกหรอแบบขูดขีด
แคลเซียม (Calcium) ป้องกันการกัดกร่อน 
แบเรียม (Barium) ป้องกันการกัดกร่อน
ซิลิกอน (Silicon) ลดการเกิดฟอง

สิ่งปนเปื้อนในน้ำมันและสาเหตุที่เป็นไปได้ 

สิ่งปนเปื้อนในน้ำมัน สาเหตุที่เป็นไปได้ 
เหล็ก (Iron) ตลับลูกปืน และ ฟันเฟือง
ทองแดง (Copper) ตลับลูกปืนกาบ, รังของตลับลูกปืน และ เฟืองล้อตัวหนอน
ตะกั่ว (Lead) ตลับลูกปืนกาบ, รังของตลับลูกปืน และ วาล์ว
อลูมิเนียม (Aluminium) กระบอกสูบ, รังของตลับลูกปืน
โครเมียม (Chromium) แหวนสูบ, เสื้อสูบ และ ระบบระบายความร้อน
ดีบุก (Tin) ตลับลูกปืนกาบ และ สารเคลือบ
ซิลิกอน (Silicon) ดิน และ ฝุ่น
น้ำ (Water) การควบแน่นของน้ำ, การระบายความร้อน และการซีล

6.1 เศษโลหะจากการสึกหรอ

โลหะประเภทเหล็กและทองแดงมักจะถูกพบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งยังงรวมถึงโลหะอื่นๆที่ใช้ในผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรด้วย

เมื่อประเมินความสำคัญของสิ่งเจือปนที่เกิดจากการเสียดสีของโลหะ การพิจารณาตำแหน่งตัวอย่างนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากน้ำมันตัวอย่างถูกเก็บใกล้ก้นอ่างน้ำมัน ถือว่าไม่ใช่น้ำมันที่เป็นตัวแทนของระบบสำหรับใช้ในการเปรียบเทียบปริมาณของเศษโลหะที่ตรวจพบต่อปริมาณน้ำมันทั้งหมดในอ่างน้ำมันได้ จึงไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากเศษโลหะจากการสึกหรอขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานและสภาพของเครื่องที่แตกต่างกันไป จึงไม่สามารถระบุค่าแนะนำได้

การทดสอบเป็นประจำ จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ นอกจากนั้นแล้ว การพิจารณากำหนดเกณฑ์ควรขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัวและความรู้ความเข้าใจในของเครื่องจักรของผู้ใช้งานอีกด้วย

ค่าแนะนำสำหรับการกำหนดการเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เป็นการยากมากที่จะกำหนดช่วงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ด้วยเหตุนี้ค่าที่ระบุจึงเป็นค่าแนะนำเท่านั้น

ในบางกรณีผู้ผลิตเครื่องจักรจะกำหนดช่วงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นของตนเอง ซึ่งอาจแตกต่างจากค่าที่ควรจะเป็นที่ได้ระบุไว้ในที่นี้

น้ำมันเกียร์ 

น้ำมันเกียร์ น้ำมันใหม่ (อ้างอิง) ค่ากำหนด หมายเหตุ
ค่าความหนืด, ที่ 40°C, mm2/s ±10 % ± 20% แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมัน หากค่าความหนืดเกินกว่า ± 20% ของเกรดน้ำมันตาม ISO VG
การวัดความเป็นกรด-ด่าง, mg KOH/g 0.5 - 6 ∆ 1 – 2

แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมัน

ปริมาณน้ำในน้ำมัน, % < 0.02 < 0.05 – 3 ตรวจสอบระบบ, ไส้กรอง
องค์ประกอบ      
เหล็ก (Fe) , ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ 100 – 1000 ตรวจสอบไส้กรอง
โครเมียม (Cr), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ 10 – 20 ตรวจสอบไส้กรอง
ตะกั่ว (Pb), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ 20 – 50 ตรวจสอบไส้กรอง
ทองแดง (Cu), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ 50 – 1000 ตรวจสอบไส้กรอง
ดีบุก (Sn), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ 20 – 50 ตรวจสอบไส้กรอง
อะลูมิเนียม (AI), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ 20 – 50 ตรวจสอบไส้กรอง
ซิลิกอน (Si), ppm 0 – 50 10 -50 ตรวจสอบไส้กรอง (หากไม่ได้เป็นสารป้องกันการเกิดฟอง)
โมลิดินัม (Mo), ppm 10 - 2000 10-50 โมลิดินัมถูกใช้สำหรับช่วยการรับโหลดที่ความเข้มข้นสูง
แมคนีเซียม (Mg), ppm 10 - 2000 ลดลง 20 – 30% แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมัน
สังกะสี (Zn), % 10 - 2000 ลดลง 20 – 30% แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมัน
ฟอสฟอรัส (P), % 10 - 3000 ลดลง 20 – 30% แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมัน
ระดับของความสะอาด ISO 4406 ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ ไม่ได้ถูกกำหนด ตรวจสอบระบบ, ไส้กรอง

น้ำมันเครื่องอัดอากาศ

น้ำมันเครื่องอัดอากาศ น้ำมันใหม่(อ้างอิง) ค่ากำหนด หมายเหตุ
ค่าความหนืด, ที่ 40°C, mm2/s ±10% ±10% เทียบจากค่าความหนืดของน้ำมันใหม่(ถ้ามี) แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมัน หากค่าความหนืดเกินกว่า ±20% ของเกรดน้ำมันตาม ISO VG (กรณีไม่มีค่าความหนืดของน้ำมันใหม่อ้างอิง)
ค่าความเป็นกรด-ด่าง, mg KOH/g 0.2 - 1 ± max. 2 แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมัน
การเจือปนของน้ำ, % < 0.02 < 0.1 ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร หรือระบบระบายความร้อน
องค์ประกอบ      
เหล็ก (Fe), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
โครเมียม (Cr), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
ตะกั่ว (Pb), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
ทองแดง (Cu), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
ดีบุก (Sn), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ

อะลูมิเนียม (Al), ppm

ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
ซิลิกอน (Si), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
โมลิดินัม (Mo), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
แมคนีเซียม (Mg), ppm ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
สังกะสี (Zn), % ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
ฟอสฟอรัส (P), % 100 - 1000 การวิเคราะห์แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับชนิดลักษณะการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ
ระดับของความสะอาด ISO 4406 ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์ ไม่ได้ถูกกำหนด  

 

ติดต่อเรา

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการเอกสาร Download กรุณาติดต่อคลูเบอร์ ลูบริเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ หรือ Add Friend มายัง LINE OA @klueberthailand 

คลูเบอร์ ลูบริเคชั่น Your global specialist เรายินดีให้บริการคุณ

ขอขอบพระคุณค่ะ

  • TH ติดต่อ

    บริษัท คลูเบอร์ ลูบริเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

    เลขที่ 5 อาคารดร.เกฮาร์ด ลิงค์ ชั้นที่ 12
    ซอยกรุงเทพกรีฑา 4 (บีกริม)
    ถนนกรุงเทพกรีฑา หัวหมาก
    บางกะปิ กรุงเทพ 10240
    ประเทศไทย

    email : marketing@th.klueber.com
    Phone : +66 (0) 2792 2822

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการข้อมูลของคุณในแบบฟอร์มติดต่อ โปรดอ่านเพิ่มเติมในเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัว